บริการของเรา

การบริการด้านความปลอดภัย

การทดสอบความปลอดภัยทางผิวหนัง การประเมินความปลอดภัยของส่วนประกอบที่ใช้ในเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสอดคล้องกับแนวทางมาตรฐานการทดสอบการระคาย เคืองทางผิวหนัง และภูมิแพ้ผิวหนังตามมาตรฐานเครื่องสำอาง โดยทดสอบภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง การประเมินผล และสรุปผล ได้รับการรับรองมาตรฐาน จากประเทศญี่ปุ่น โดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปใช้อ้างอิงบนบรรจุภัณฑ์ และการตลาด ซึ่งประกอบไปด้วย 2 วิธีการทดสอบ ได้แก่

9

การทดสอบการระคายเคืองทางผิวหนัง (24-Hour Occlusive Human Patch Test )

คือการทดสอบความปลอดภัยพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ โดยวัดค่าความระคายเคืองของผิวหนัง

  • ทดสอบอาสาสมัครผิวสุขภาพดี อย่างน้อย 20 คน ใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมง
  • คำเคลมผลิตภัณฑ์: Dermatologically Tested/ Irritation Tested/ Safety Tested/ Test Under Dermatologist Control
9

การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง (Human Repeated Insult Patch Test)

คือ การทดสอบเพื่อประเมินการระคายเคืองของผิวหนังสำหรับ ผิวแพ้ง่าย เพื่อวัตถุดิบหรือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ต้องการระบุว่าเป็นสำหรับผิวแพ้ง่าย ด้วยการประเมินด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยตรง

  • ทดสอบในอาสาสมัครจำนวนอย่างน้อย 50 คน ใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์
  • คำเคลมผลิตภัณฑ์: Dermatologically Tested / Hypoallergenically Tested / Test Under Dermatologist Control

การบริการด้านประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์

การทดสอบประสิทธิภาพ คือ การประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้น สามารถเกิดประสิทธิผลตามที่กล่าวไว้หรือไม่ โดยทำการทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์นั้น มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเหมาะกับผู้บริโภค การทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จะทดสอบในกลุ่มอาสาสมัครอย่างน้อย 20 คน ตามระยะเวลาที่ต้องการศึกษา โดยจะประเมินสภาพผิวของอาสาสมัครก่อน และหลังใช้ผลิตภัณฑ์ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญ ปัจจุบันประกอบด้วย 5 วิธีการทดสอบ

การทดสอบประสิทธิภาพ

1. ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีผลด้านความขาวกระจ่างใส

ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีผลด้านความขาวกระจ่างใส และลดเลือนจุดด่างดำ (Whitening /Brightening / Depigmentation Effect)

รายการที่ประเมินและอุปกรณ์ที่ใช้

  1. การวัดค่าเม็ดสีเมลานิน
    • เครื่องวัดค่าเม็ดสีเมลานิน (Mexameter) : เครื่องมือนี้ใช้หลักการวัดแสงที่สะท้อนจากผิวหนัง เพื่อวิเคราะห์ปริมาณเม็ดสีเมลานิน ซึ่งเป็นตัวก าหนดสีผิว
  2. การวัดค่าความสว่างของผิว
    • เครื่องวัดค่าความสว่าง (Skin-Colorimeter) : เครื่องมือนี้ใช้หลักการวัดแสงที่สะท้อนจากผิวหนัง เพื่อวิเคราะห์ค่าความสว่าง (Brightening) ซึ่งเป็นตัวกำหนดค่าความกระจ่างใสของผิว

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบ: ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสีผิว เช่น ผลิตภัณฑ์กันแดด, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวขาว, ผลิตภัณฑ์ลดเลือนฝ้า จุดด่างดำ เป็นต้น

ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีผลด้านความชุ่มชื้น (Moisturizing Effect)

รายการที่ประเมินและอุปกรณ์ที่ใช้

1. วัดค่าความชุ่มชื้น
• เครื่องวัดค่าความชุ่มชื้น (Corneometer) : เครื่องมือนี้ใช้หลักการวัดค่าการนำไฟฟ้า (dielectric constant) ที่ผิวของผู้เข้ารับการทดสอบ โดยดูปริมาณความชุ่มชื้นของผิวหนัง

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบ: ผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้น , ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว , ผลิตภัณฑ์ปรับสมดุลผิว เป็นต้น

ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีผลด้านริ้วรอย (Anti-wrinkle Effect)

รายการที่ประเมินและอุปกรณ์ที่ใช้

1. วัดค่าความยืดหยุ่นของผิว
• เครื่องวัดค่าความยืดหยุ่นของผิว (Cutometer) : เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดความยืดหยุ่นของผิวหนัง (Skin Elasticity) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงความยืดหยุ่น และความตึงของผิวหนัง

2. วัดค่าริ้วรอยของผิว
• เครื่องวัดค่าริ้วรอยของผิว (Visioscan): เป็นเครื่องถ่ายภาพผิวหนังที่ใช้ประเมินสภาพผิวหนังมนุษย์จากภาพถ่าย โดยเทคนิคพิเศษจากการปลดปล่อยแสง และอิเล็คตรอน แล้วประเมินผลคือ ความเรียบเนียน และรอยย่นของผิว

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบ: ผลิตภัณฑ์ลดเลือนริ้วรอย, ผลิตภัณฑ์ชะลอวัย เป็นต้น

ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีผลด้านการควบคุมความมัน (Sebum Control Effect)

รายการที่ประเมินและอุปกรณ์ที่ใช้

1. วัดค่าความมันบนผิวหนัง (Sebum)
• เครื่องวัดค่าความมัน (Sebumeter) : เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดปริมาณไขมันบนผิวหนัง (Cutaneous Sebum Rate)

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบ: ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า , ผลิตภัณฑ์กันแดด , ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้ากลุ่มควบคุมความมันเป็นต้น

ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์โดยใช้แบบประเมินสอบถาม (Questionnaire) โดยผู้ใช้จริง

เพื่อทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมาย และนำผลการประเมินมาใช้วิเคราะห์หรือตรวจสอบ
คุณภาพและความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ ภายใต้การควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญ อาทิ เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านผิวหนัง, ทันตแพทย์ เป็นต้น

Scroll to Top